มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม เรียบเรียง[1]
การดำเนินงานของกรมควบคุมมลพิษ
โดยที่กรมควบคุมมลพิษต้องรับผิดชอบตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดนั้น ศาลได้ตัดสินให้กรมควบคุมมลพิษกำหนดแผนงาน วิธีการ และดำเนินการฟื้นฟูตรวจและวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำ ดิน พืชผัก และสัตว์น้ำในลำห้วยคลิตี้ให้ครอบคลุมทุกฤดูกาลอย่างน้อยฤดูกาลละ 1 ครั้งจนกว่าจะพบว่าค่าสารตะกั่วในน้ำ ดิน พืชผัก และสัตว์น้ำในลำห้วยคลิตี้ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี และแจ้งให้ชาวบ้านทราบโดยวิธีการเปิดเผยโดยต้องทำการปิดประกาศ ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านคลิตี้ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลชะแล ที่ว่าการอำเภอทองผาภูมิ และให้กรมควบคุมมลพิษชดใช้ค่าเสียหายให้ชาวบ้านคลิตี้ล่างเป็นเงินรายละ 177,199.55บาท[2] โดยการดำเนินการตามคำพิพากษานั้นกรมควบคุมมลพิษได้ว่าจ้างทีมศูนย์วิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย มหาวิทยาลัยขอนแก่นทำการศึกษาโครงการกำหนดแนวทางการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้จากการปนเปื้อนสารตะกั่ว ในปี 2556 ซึ่งทางศูนย์วิจัยฯ ได้ลงพื้นที่ทำการเก็บตัวอย่างตะกอนดินท้องน้ำจากลำห้วยคลิตี้ ตรวจดินภายในหมู่บ้าน ตรวจวัดคุณภาพน้ำ โดยนำเอาผลการศึกษาที่ได้ศึกษาลงรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นระยะ ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ อ่านต่อ