การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในลำห้วยคลิตี้ ชัยชนะทางคดีที่เปิดเผยระบบที่ล้มเหลว

บทความวิชาการโดย
สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุรชัย ตรงงาม
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม

ตีพิมพ์ใน: วารสารนิติสังคมศาสตร์ (CMU Journal of Law and Social Sciences) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (2564) ฉบับ “กฎหมายยามสังคมพลิกผัน”


บทคัดย่อ
เรื่องราวการปนเปื้อนสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ จังหวัดกาญจนบุรีและการต่อสู้ของชุมชนกะเหรี่ยงเพื่อเรียกร้องสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีผ่านกระบวนการยุติธรรมจนนำไปสู่การเริ่มฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม เป็นที่รับรู้ของสาธารณะอย่างกว้างขวางในฐานะคดีสิ่งแวดล้อมที่ก้าวหน้า กรณีคลิตี้นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมผ่านคำพิพากษาและเป็นครั้งแรกที่สังคมไทยได้รับรู้ถึงความไม่มีประสิทธิภาพของระบบการจัดการการปนเปื้อนมลพิษของรัฐไทยอย่างละเอียด หน่วยงานรัฐใช้เวลากว่า 23 ปีและใช้งบประมาณรัฐจำนวนมากไปในการแก้ไขปัญหาซึ่งจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เสร็จสิ้น กรณีคลิตี้มีความสำคัญต่อสังคมไทยเพราะแสดงให้เห็นถึงภาคปฏิบัติการจริงของระบบการจัดการการปนเปื้อนมลพิษในสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยว่าไม่มีความพร้อมที่จะตอบสนองต่อปัญหา บทความนี้พยายามตอบคำถามว่าอะไรเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การจัดการปัญหาการปนเปื้อนมลพิษในกรณีคลิตี้ไม่มีประสิทธิภาพ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับการจัดการปัญหาการปนเปื้อนมลพิษจากเหมืองแร่ในรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ผู้เขียนโต้แย้งว่าความไร้ประสิทธิภาพในการจัดการปัญหากรณีคลิตี้เป็นปัญหาเชิงระบบ โดยมีปัจจัยสำคัญอย่างน้อยสามประการได้แก่ การไม่มีกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อจัดการกับปัญหาการปนเปื้อนและการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมไว้อย่างเป็นระบบ การไม่มีหน่วยงานที่มีพันธกิจ อำนาจและหน้าที่เฉพาะเจาะจงในการจัดการปัญหา และการไม่ให้ความสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการแก้ไขปัญหา ดังนั้นหากประเทศไทยจริงจังกับการคุ้มครองสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชน รัฐบาลต้องแก้ไขปรับปรุงระบบการจัดการปัญหาการปนเปื้อนมลพิษในสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ

อ่านบทความฉบับเต็ม:

Klity-Remediation-LawCMUJournal

ที่มา: การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในลำห้วยคลิตี้ ชัยชนะทางคดีที่เปิดเผยระบบที่ล้มเหลว | CMU Journal of Law and Social Sciences (tci-thaijo.org)

บทความที่เกี่ยวข้อง