ข้อมูลเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินภายหลังบังคับใช้ผังเมือง EEC พื้นที่ 3 จังหวัด

EnLAW รวบรวมภาพและข้อมูลเปรียบเทียบ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินภายหลังบังคับใช้ผังเมือง EEC ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่  ฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี ที่เปลี่ยนแปลงที่ดินสำหรับเกษตรกรรม ให้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมถึงให้สามารถประกอบกิจการโรงงานได้โดยไม่มีข้อห้าม ตลอดจนการขยายพื้นที่อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 

อันส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่อย่างมาก เนื่องจากส่วนใหญ่เลี้ยงชีพด้วยการทำเกษตรกรรมและทำการประมง ที่จำเป็นต้องพึ่งพิงระบบนิเวศ และสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี เมื่อมีการบังคับใช้ผังเมือง EEC ที่มีผลเป็นการยกเลิกผังเมืองเดิม จึงเป็นการทำลายความคุ้มครองหลักด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชนและประชาชนในพื้นที่ กระทบถึงอาชีพและคุณภาพชีวิตของประชาชนจำนวนมาก

จังหวัดฉะเชิงเทรา มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ 4 พื้นที่ คือ พื้นที่ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา, พื้นที่ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา, พื้นที่ตำบลเขาดิน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา, พื้นที่ตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

1.พื้นที่ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา


ที่ดินสำหรับเกษตรกรรม ถูกเปลี่ยนไปเป็นที่ดินประเภทชุมชนชนบท มีข้อกำหนดข้อห้ามประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมเพียง 8 ประเภทโครงการ นอกเหนือจากนี้สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทั้งสิ้น

เดิมตำบลหนองแหน ทั้งหมดเป็นที่ดินสีเขียวหรือที่ดินสำหรับเกษตรกรรมคือที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม เดิมตามกฎกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ.2555 มีข้อกำหนดห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการโรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เว้นแต่โรงงานตามประเภท ชนิด และจำพวกที่กำหนดให้ดำเนินการได้ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ และโรงงานบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน ซึ่งตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่นี้ได้ 74 ประเภท ซึ่งไม่มีการอนุญาตโรงงานลำดับที่ 88 (โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า) โรงงานลำดับที่ 89 (โรงงานผลิตก๊าซ ซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ) โรงงานลำดับที่ 101 (โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม) โรงงานลำดับที่ 105 (โรงงานคัดแยกหรือฝังกลบขยะ) และโรงงานลำดับที่ 106 (โรงงานรีไซเคิลขยะ)

ภายหลังบังคับใช้ผัง EEC พื้นที่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นที่ดินสีเหลืองอ่อนหรือที่ดินประเภทชุมชนชนบท รวมถึงการกำหนดให้ที่ดินประเภทพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของให้ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับที่ดินประเภทชุมชนชนบท ซึ่งมีข้อกำหนดข้อห้ามประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมเพียง 8 ประเภทโครงการ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง โครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการอุตสาหกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2552 คือ
1.การทำเหมืองใต้ดิน
2.เหมืองแร่ตะกั่ว และสังกะสี
3.การถลุงแร่
4.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีการใช้หรือผลิตสารตามที่กำหนด ซึ่งมีปริมาณมากกว่า 1,000 ตันต่อวัน
5.นิคมอุตสาหกรรม ที่รองรับอุตสาหกรรมผลิตเหล็ก หรือปิโตรเคมี
6.โรงงานฝังกลบของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม หรือเตาเผาที่จัดสร้างเพื่อกำจัดของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม
7.โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 100 เมกะวัตต์ขึ้นไป
8.โรงไฟฟ้านิวเครียร์
นอกเหนือจากนี้สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทั้งสิ้น

2.พื้นที่ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา


เปลี่ยนแปลงที่ดินสำหรับเกษตรกรรม ไปเป็นที่ดินสำหรับอุตสาหกรรม สามารถประกอบกิจการโรงงานได้โดยไม่มีข้อห้าม


เดิมตำบลเขาหินซ้อน ทั้งหมดเป็นที่ดินสีเขียวหรือที่ดินสำหรับเกษตรกรรม คือที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม เดิมตามกฎกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ.2555 มีข้อกำหนดห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการโรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เว้นแต่โรงงานตามประเภท ชนิด และจำพวกที่กำหนดให้ดำเนินการได้ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ และโรงงานบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน ซึ่งตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่นี้ได้ 74 ประเภท ซึ่งไม่มีการอนุญาตโรงงานลำดับที่ 88 (โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า) โรงงานลำดับที่ 89  (โรงงานผลิตก๊าซ ซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ) โรงงานลำดับที่ 101 (โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม) โรงงานลำดับที่ 105 (โรงงานคัดแยกหรือฝังกลบขยะ) และโรงงานลำดับที่ 106 (โรงงานรีไซเคิลขยะ)

ภายหลังบังคับใช้ผังEEC พื้นที่ซึ่งติดกับที่ดินสำหรับอุตสาหกรรมเดิม ขยายออกเป็นที่ดินสีม่วงอ่อนมีจุดสีขาวหรือที่ดินสำหรับอุตสาหกรรม คือที่ดินประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม ทับที่ดินสีเขียวหรือที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมเดิม ซึ่งสามารถประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทได้โดยไม่มีข้อห้าม

3.พื้นที่ตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา


เปลี่ยนแปลงที่ดินสำหรับเกษตรกรรม ให้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้
อาทิ โรงงานลำดับที่ 88 (โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า) ที่ไม่ใช้ถ่านหินเป็นวัตถุดิบ โรงงานลำดับที่ 89 (โรงงานผลิตก๊าซ ซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ) โรงงานลำดับที่ 101 (โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม) และโรงงานลำดับที่ 105 (โรงงานคัดแยกหรือฝังกลบขยะ)

เดิมตำบลหนองตีนนก ส่วนใหญ่เป็นที่ดินสีเขียวหรือที่ดินสำหรับเกษตรกรรม คือที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม เดิมตามกฎกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ.2555 มีข้อกำหนดห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการโรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เว้นแต่โรงงานตามประเภท ชนิด และจำพวกที่กำหนดให้ดำเนินการได้ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ และโรงงานบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนที่อยู่ห่างจากริมแม่น้ำบางปะกงไม่น้อยกว่า 500 เมตร ซึ่งตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่นี้ได้เพียง 41 ประเภท ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กและหรืออุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งไม่มีการอนุญาตโรงงานลำดับที่ 88(โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า) โรงงานลำดับที่ 89(โรงงานผลิตก๊าซ ซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ) โรงงานลำดับที่ 101(โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม) โรงงานลำดับที่ 105(โรงงานคัดแยกหรือฝังกลบขยะ) และโรงงานลำดับที่ 106 (โรงงานรีไซเคิลขยะ)

ภายหลังบังคับใช้ผังEEC เป็นที่ดินสีเขียวอ่อน ยังคงเป็นที่ดินสำหรับเกษตรกรรมคือ ที่ดินประเภทส่งเสริมเกษตรกรรม แต่มีการเปลี่ยนแปลงในข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สามารถประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมได้เพิ่มมากขึ้น คือ ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมได้ดังนี้
1.โรงงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดประเภทและชนิดของโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากผลิตผลการเกษตร ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550 มีประกอบด้วยทั้งสิ้น 14 ประเภทโรงงาน
2.โรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมบริการหรืออุตสาหกรรมที่ให้บริการแก่ชุมชนตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งไม่ใช่โรงงานลำดับที่ 106 ซึ่งให้ประกอบกิจการโรงงานได้ 56 ประเภทโรงงาน จากโรงงานทั้งหมด 107 ประเภท
3.โรงงานลำดับที่ 88(โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า) ที่ไม่ใช้ถ่านหินเป็นวัตถุดิบ โรงงานลำดับที่ 89(โรงงานผลิตก๊าซ ซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ) โรงงานลำดับที่ 101(โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม) และโรงงานลำดับที่ 105(โรงงานคัดแยกหรือฝังกลบขยะ)

4.พื้นที่ตำบลเขาดิน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา


เปลี่ยนแปลงที่ดินสำหรับเกษตรกรรม ไปเป็นที่ดินสำหรับอุตสาหกรรม สามารถประกอบกิจการโรงงานได้โดยไม่มีข้อห้าม

เดิมตำบลเขาดิน ส่วนใหญ่เป็นที่ดินสีเขียวหรือที่ดินสำหรับเกษตรกรรม คือที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม เดิมตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบางปะกง พ.ศ.2554 มีข้อกำหนดห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการโรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เว้นแต่โรงงานตามประเภท ชนิด และจำพวกที่กำหนดให้ดำเนินการได้ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ และโรงงานบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนที่อยู่ห่างจากริมแม่น้ำบางปะกงไม่น้อยกว่า 500 เมตร ซึ่งตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานได้เพียง 36 ประเภท ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กและหรืออุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งไม่มีการอนุญาตโรงงานลำดับที่ 88(โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า) โรงงานลำดับที่ 89(โรงงานผลิตก๊าซ ซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ) โรงงานลำดับที่ 101(โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม) โรงงานลำดับที่ 105(โรงงานคัดแยกหรือฝังกลบขยะ) และโรงงานลำดับที่ 106 (โรงงานรีไซเคิลขยะ)

ภายหลังบังคับใช้ผังEEC เปลี่ยนแปลงไปเป็นที่ดินสีม่วงอ่อนมีจุดสีขาวหรือที่ดินสำหรับอุตสาหกรรม คือที่ดินประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทได้โดยไม่มีข้อห้าม
การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่อย่างมาก เนื่องจากส่วนใหญ่เลี้ยงชีพด้วยการทำเกษตรกรรม ที่จำเป็นต้องพึ่งพิงระบบนิเวศ และสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี เมื่อมีการบังคับใช้ผังเมือง EEC ที่มีผลเป็นการยกเลิกผังเมืองเดิม จึงเป็นการทำลายความคุ้มครองหลักด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชนและประชาชนในพื้นที่ กระทบถึงอาชีพและคุณภาพชีวิตของประชาชนจำนวนมาก

จังหวัดระยอง มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ 2 พื้นที่ คือ พื้นที่ตำบลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และพื้นที่ตำบลคลองปูน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

1.พื้นที่ตำบลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง


ที่ดินสำหรับเกษตรกรรม ถูกเปลี่ยนไปเป็นที่ดินประเภทชุมชนชนบท มีข้อกำหนดข้อห้ามประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมเพียง 8 ประเภทโครงการ นอกเหนือจากนี้สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทั้งสิ้น

เดิมตำบลทุ่งควายกิน ส่วนใหญ่เป็นที่ดินสีเขียวหรือที่ดินสำหรับเกษตรกรรม คือที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม เดิมตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดระยอง พ.ศ.2560 มีข้อกำหนดห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการโรงงานทุกจำพวกว่าด้วยกฎหมายโรงงาน เว้นแต่โรงงานตามประเภท ชนิด และจำพวกที่กำหนดให้ดำเนินการได้ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ ซึ่งอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานได้ 54 ประเภท ซึ่งไม่มีการอนุญาตโรงงานลำดับที่ 88 (โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า) โรงงานลำดับที่ 89 (โรงงานผลิตก๊าซ ซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ) โรงงานลำดับที่ 101(โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม) โรงงานลำดับที่ 105 (โรงงานคัดแยกหรือฝังกลบขยะ) และโรงงานลำดับที่ 106 (โรงงานรีไซเคิลขยะ)

ภายหลังบังคับใช้ผัง EEC พื้นที่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นที่ดินสีเหลืองอ่อนหรือที่ดินประเภทชุมชนชนบท รวมถึงการกำหนดให้ที่ดินประเภทพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของให้ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับที่ดินประเภทชุมชนชนบท ซึ่งมีข้อกำหนดข้อห้ามประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมเพียง 8 ประเภทโครงการ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง โครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการอุตสาหกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2552 คือ
1.การทำเหมืองใต้ดิน
2.เหมืองแร่ตะกั่ว และสังกะสี
3.การถลุงแร่
4.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีการใช้หรือผลิตสารตามที่กำหนด ซึ่งมีปริมาณมากกว่า 1,000 ตันต่อวัน
5.นิคมอุตสาหกรรม ที่รองรับอุตสาหกรรมผลิตเหล็ก หรือปิโตรเคมี
6.โรงงานฝังกลบของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม หรือเตาเผาที่จัดสร้างเพื่อกำจัดของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม
7.โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 100 เมกะวัตต์ขึ้นไป
8.โรงไฟฟ้านิวเครียร์
นอกเหนือจากนี้สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทั้งสิ้น

2.พื้นที่ตำบลคลองปูน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง


ที่ดินสำหรับเกษตรกรรม ถูกเปลี่ยนไปเป็นที่ดินประเภทชุมชนชนบท มีข้อกำหนดข้อห้ามประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมเพียง 8 ประเภทโครงการ นอกเหนือจากนี้สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทั้งสิ้น

เดิมตำบลคลองปูน ส่วนใหญ่เป็นที่ดินสีเขียวหรือที่ดินสำหรับเกษตรกรรม คือที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม เดิมตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดระยอง พ.ศ.2560 มีข้อกำหนดห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการโรงงานทุกจำพวกว่าด้วยกฎหมายโรงงาน เว้นแต่โรงงานตามประเภท ชนิด และจำพวกที่กำหนดให้ดำเนินการได้ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ ซึ่งอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานได้ 54 ประเภท ซึ่งไม่มีการอนุญาตโรงงานลำดับที่ 88 (โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า) โรงงานลำดับที่ 89 (โรงงานผลิตก๊าซ ซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ) โรงงานลำดับที่ 101(โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม) โรงงานลำดับที่ 105 (โรงงานคัดแยกหรือฝังกลบขยะ) และโรงงานลำดับที่ 106 (โรงงานรีไซเคิลขยะ)

ภายหลังบังคับใช้ผัง EEC พื้นที่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นที่ดินสีเหลืองอ่อนหรือที่ดินประเภทชุมชนชนบท รวมถึงการกำหนดให้ที่ดินประเภทพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของให้ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับที่ดินประเภทชุมชนชนบท ซึ่งมีข้อกำหนดข้อห้ามประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมเพียง 8 ประเภทโครงการ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง โครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการอุตสาหกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2552 คือ
1.การทำเหมืองใต้ดิน
2.เหมืองแร่ตะกั่ว และสังกะสี
3.การถลุงแร่
4.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีการใช้หรือผลิตสารตามที่กำหนด ซึ่งมีปริมาณมากกว่า 1,000 ตันต่อวัน
5.นิคมอุตสาหกรรม ที่รองรับอุตสาหกรรมผลิตเหล็ก หรือปิโตรเคมี
6.โรงงานฝังกลบของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม หรือเตาเผาที่จัดสร้างเพื่อกำจัดของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม
7.โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 100 เมกะวัตต์ขึ้นไป
8.โรงไฟฟ้านิวเครียร์
นอกเหนือจากนี้สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทั้งสิ้น

จังหวัดชลบุรี มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ 3 พื้นที่ คือ พื้นที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี, พื้นที่อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี, พื้นที่ตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

1.พื้นที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี


เป็นการการขยายตัวของที่ดินสำหรับอุตสาหกรรม ได้แก่ ที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ ที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการอุตสาหกรรม และหรือที่ดินประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถประกอบกิจการโรงงานได้โดยไม่มีข้อห้าม

เดิมตำบลทุ่งสุขลา ส่วนใหญ่เป็นที่ดินสีม่วงหรือที่ดินสำหรับอุตสาหกรรมคือที่ดินอุตสาหกรรมและคลังสินค้า ตามกฎกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมและชุมชนแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2555

ภายหลังบังคับใช้ผังEEC มีการขยายที่ดินสีม่วงหรือที่ดินสำหรับอุตสาหกรรมคือที่ดินประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมได้โดยไม่มีข้อห้าม ออกไปในทะเลในบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง
อีกทั้งในบริเวณกลางพื้นที่ตำบลทุ่งสุขลา เดิมเคยเป็นที่ดินสีน้ำเงินหรือที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ซึ่งกำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการของรัฐ กิจการเกี่ยวกับการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ หรือสาธารณะประโยชน์เท่านั้
ภายหลังบังคับใช้ผังEEC เปลี่ยนแปลงไปเป็นที่ดินสีน้ำตาลหรือหรือที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ ซึ่งประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมได้โดยไม่มีข้อห้าม

2.พื้นที่อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี


เปลี่ยนแปลงที่ดินสำหรับเกษตรกรรม ไปเป็นที่ดินสำหรับอุตสาหกรรม
สามารถประกอบกิจการโรงงานได้โดยไม่มีข้อห้าม

เดิมอำเภอพานทอง ส่วนใหญ่เป็นที่ดินสีเขียวหรือที่ดินสำหรับเกษตรกรรม คือที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม เดิมตามตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนพานทอง-หนองตำลึง จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2554 มีข้อกำหนดห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการโรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เว้นแต่โรงงานตามประเภท ชนิด และจำพวกที่กำหนดให้ดำเนินการได้ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ และโรงงานบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน ซึ่งตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานได้เพียง 54 ประเภท ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กและหรืออุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งไม่มีการอนุญาตโรงงานลำดับที่ 88(โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า) โรงงานลำดับที่ 89(โรงงานผลิตก๊าซ ซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ) โรงงานลำดับที่ 101(โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม) โรงงานลำดับที่ 105(โรงงานคัดแยกหรือฝังกลบขยะ) และโรงงานลำดับที่ 106 (โรงงานรีไซเคิลขยะ)

ภายหลังบังคับใช้ผังEEC เปลี่ยนแปลงไปเป็นที่ดินสีม่วงอ่อนมีจุดสีขาวหรือที่ดินสำหรับอุตสาหกรรม คือที่ดินประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม และที่ดินสีม่วงหรือที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการอุตสาหกรรม ทับอยู่บนที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมเดิม ซึ่งสามารถประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทได้โดยไม่มีข้อห้าม

3.พื้นที่ตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี


ถูกเปลี่ยนจากเป็นที่ดินสีเขียวหรือที่ดินสำหรับเกษตรกรรม ให้เป็นที่ดินสีส้มหรือที่ดินประเภทชุมชนเมือง ซึ่งมีข้อกำหนดให้สามารถประกอบกิจการโรงงานที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเพิ่มขึ้น

เดิมตำบลบางละมุง ส่วนใหญ่เป็นที่ดินสีเขียวหรือที่ดินสำหรับเกษตรกรรม คือที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม เดิมตามกฎกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมและชุมชนแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2555 มีข้อกำหนดห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการโรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เว้นแต่โรงงานตามประเภท ชนิด และจำพวกที่กำหนดให้ดำเนินการได้ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ และโรงงานบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน ซึ่งตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่นี้ได้ 51 ประเภท ซึ่งไม่มีการอนุญาตโรงงานลำดับที่ 88(โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า) โรงงานลำดับที่ 89(โรงงานผลิตก๊าซ ซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ) โรงงานลำดับที่ 101(โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม) โรงงานลำดับที่ 105(โรงงานคัดแยกหรือฝังกลบขยะ) และโรงงานลำดับที่ 106 (โรงงานรีไซเคิลขยะ)

ภายหลังบังคับใช้ผังEEC มีการขยายที่ดินสีส้มหรือที่ดินประเภทชุมชนเมือง ซึ่งมีข้อกำหนดให้สามารถประกอบกิจการโรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมบริการหรืออุตสาหกรรมที่ให้บริการแก่ชุมชนตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งไม่ใช่โรงงานลำดับที่ 106 ได้ คือให้ประกอบกิจการโรงงานได้ 56 ประเภทโรงงาน จากโรงงานทั้งหมด 107 ประเภท โดยมีโรงงานโรงงานอุตสาหกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ได้รับอนุญาตคือ โรงงานลำดับที่ 88(โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า) โรงงานลำดับที่ 101(โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม) และโรงงานลำดับที่ 105 (โรงงานคัดแยกหรือฝังกลบขยะ)

 

บทความที่เกี่ยวข้อง