องค์กรภาคประชาสังคมและเครือข่ายประชาชนยื่นหนังสือต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ขอให้ยุติการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ….
เผยแพร่วันที่ 24 มีนาคม 2558 ที่มา: สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
วันนี้ (24 มีนาคม 2558) เวลาประมาณ 11.00 น. ที่รัฐสภา องค์กรภาคประชาสังคมและเครือข่ายประชาชนรวม 38 องค์กร เข้ายื่นหนังสือต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อขอให้ยุติการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ….โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้รับหนังสือดังกล่าวไว้
ภายหลังจากรับหนังสือ นายสุรชัยได้กล่าวขอบคุณทั้ง 38 องค์กร ที่ช่วยกันแสดงออกซึ่งความคิดเห็นในการพิจารณากฎหมายของ สนช. เป็นการทำหน้าที่โดยการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมืองของชาติ สำหรับความคืบหน้าในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. …. นั้น สนช. ได้รับหลักการแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ หลังจากที่ได้รับเรื่องวันนี้จะส่งเรื่องให้ที่ประชุมกรรมาธิการพิจารณาต่อ ไป และเสนอให้องค์กรภาคประชาสังคมและเครือข่ายประชาชนที่มายื่นหนังสือในวันนี้ คัดเลือกตัวแทน 5 คน มาฟังการพิจารณากฎหมายในห้องประชุมกรรมาธิการเพื่อรับทราบความคืบหน้า โดยหนังสือที่องค์กรภาคประชาสังคมและเครือข่ายประชาชนทั้ง 38 องค์กรได้ยื่นต่อ สนช. ในวันนี้ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
—————————————
ตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. …. เมื่อวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2558 และ ได้ตั้งคณะกรรมาธิการมาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวภายใน 30 วันนั้น องค์กรภาคประชาสังคมและเครือข่ายประชาชนซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเสรีภาพในการ ชุมนุม ได้ตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว เห็นว่า กระบวนการออกกฎหมายฉบับนี้เป็นการเร่งรัดเสนอกฎหมายของหน่วยงานราชการโดยไม่ มีกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันไม่เอื้ออำนวย ให้ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริงใน กระบวนการออกกฎหมาย อีกทั้งปัจจุบันอยู่ระหว่างการปฏิรูปและจัดทำร่างรัฐ ธรรมนูญฉบับใหม่ ดังนั้น การพิจารณาออกกฎหมายซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนควรที่ จะรอให้มีรัฐธรรมนูญและมีรัฐสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริงเสีย ก่อน รวมถึงต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง ก่อนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะดังกล่าว และเมื่อพิจารณา เนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะดังกล่าวแล้ว พบว่ามีลักษณะในการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะมากกว่าการส่งเสริม สิทธิในการชุมนุมสาธารณะ อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักการประชาธิปไตย ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. นิยามผู้จัดการชุมนุมมีความหมายกว้างขวางมากเกินไป เนื่อง จากนิยามตามมาตรา 4 ประกอบกับมาตรา10 วรรคสอง ครอบคลุมถึงผู้ที่เชิญชวน หรือนัดให้ผู้อื่นมาร่วมชุมนุม แต่การบัญญัติให้รวมถึงบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการบัญญัติที่มี ความหมายอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะตีความรวมไปถึงผู้ซึ่งทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์นัดหมายให้มีการชุมนุม หรือเห็นด้วยกับการชุมนุมและช่วยประชาสัมพันธ์แต่ไม่ใช่ผู้จัดการชุมนุมใน ความเป็นจริง ซึ่งการเป็นผู้จัดการชุมนุมนั้นจะมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายตามมา
2. นิยามศาลและการตัดเขตอำนาจศาลปกครอง ตาม ที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดนิยามของศาลว่าหมายถึงศาลแพ่งและศาลจังหวัด รวมถึงมาตรา 13 และมาตรา 26 กำหนดให้คำสั่งและการกระทำของเจ้าพนักงานไม่ เป็นคำสั่ง หรือการกระทำทางปกครอง ซึ่งจะส่งผลสองประการคือ ไม่สามารถนำมาตรฐานวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครองมาใช้ และศาลปกครองไม่สามารถเข้ามาตรวจสอบคำสั่ง หรือการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐได้ ทำให้ประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมได้ยากลำบากมากยิ่งขึ้น
3. การ กำหนดห้ามชุมนุมภายในรัฐสภา ทำเนียบ ศาลและห้ามกีดขวางทางเข้าออกหน่วยงานรัฐหรือรบกวนการปฏิบัติ หรือการใช้บริการสถานที่ทำการหน่วยงานรัฐ ตามที่ร่างพระราช บัญญัติดังกล่าวกำหนดพื้นที่ชุมนุมไว้ในมาตรา7 และมาตรา 8 นั้น เนื่องจากการชุมนุมของภาคประชาชนส่วนใหญ่นั้น เป็นไปเพื่อเรียกร้องหน่วยงานรัฐแก้ไขปัญหา หรือปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย การห้ามชุมนุมในสถานที่หรือบริเวณดังกล่าวจึงเป็นไปไม่ได้เนื่องจากประชาชน ต้องการเรียกร้องต่อหน่วยงานรัฐโดยตรง และโดยสภาพการชุมนุมย่อมก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้สถานที่ดังกล่าวอยู่ แล้ว การบัญญัติลักษณะดังกล่าวจึงเปรียบเสมือนการห้ามการชุมนุมไม่ให้ประชาชน สามารถใช้สิทธิเสรีภาพได้เลย
4. การกำหนดให้แจ้งการชุมนุมก่อน 24 ชั่วโมง ตาม ที่มีการกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะแจ้งการชุมนุมก่อนเริ่ม การชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ตามมาตรา 10 ถึงมาตรา 14 นั้น ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติในการชุมนุม เนื่องจากบางกรณีเป็นการชุมนุมที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน เช่น การชุมนุมของแรงงานซึ่งนายจ้างปิดสถานประกอบการโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า การชุมนุมคัดค้านโครงการก่อสร้างในพื้นที่ชุมชน แม้จะขอ ผ่อนผันระยะเวลาการชุมนุมได้แต่ระยะเวลาในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ยังคง สามารถใช้ระยะเวลาได้ถึง 24 ชั่วโมงเช่นเดียวกัน รวมถึงหากไม่แจ้งการชุมนุมเจ้าพนักงานสามารถมีคำสั่งให้เลิกการชุมนุมได้ ทันทีทั้งที่การชุมนุมดังกล่าวอาจเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธซึ่ง ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายก็ได้
5. การกำหนดให้ผู้จัดการชุมนุมใช้เครื่องขยายเสียงตามขนาดที่กำหนด ใน มาตรา 15 ต้องไม่ปราศรัยโดยใช้เครื่องขยายเสียงในระหว่างเวลา 24.00 – 06.00 น. อาจทำให้เป็นปัญหาในการควบคุมผู้ชุมนุม เนื่องจากหากมีผู้ชุมนุมจำนวนมากแต่ไม่สามารถสื่อสารได้ทั่วถึงได้ การชุมนุมจะไม่เป็นเอกภาพและจะยิ่งก่อความไม่สะดวกแก่ประชาชนในการใช้ พื้นที่
6. การเดินขบวนและการเคลื่อนย้ายการชุมนุม ซึ่ง ต้องมีการแจ้งล่วงหน้า 24 ชั่วโมง การจำกัดการเคลื่อนย้ายการชุมนุม ตามมาตรา 16 ถึงมาตรา 18 ซึ่งในบางกรณีผู้ชุมนุมนั้น เริ่มการชุมนุมในพื้นที่ต่างจังหวัดและเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครในช่วงกลาง คืนเพื่อมาให้ถึงตอนเช้า
7. การให้ศาลยุติธรรมเป็นผู้ออกคำบังคับให้เลิกการชุมนุม ตาม มาตรา 21 และมาตรา 22 นั้น อาจทำให้ศาลกลายเป็นคู่กรณีกับประชาชนในการชุมนุม ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ และหากประชาชนต้องการฟ้องว่าการสั่งให้เลิกการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย นั้นอาจทำให้เป็นปัญหาในภายหลัง
8. การกำหนดโทษทางอาญา ดังปรากฏในมาตรา 27 ถึงมาตรา 35 เนื่องจากการชุมนุมเป็นการใช้สิทธิ เสรีภาพจึงไม่ควรมีการกำหนดโทษทางอาญา โทษที่รุนแรงที่สุดตามพระราชบัญญัตินี้นั้นควรเป็นการสั่งเลิกการชุมนุม ส่วนผู้ชุมนุมซึ่งกระทำผิดกฎหมายอาญาก็ให้ดำเนินคดีด้วยกฎหมายว่าด้วยการ นั้น
องค์กรภาคประชาสังคมและเครือข่ายประชาชนรายชื่อข้างท้ายหนังสือฉบับนี้ จึงไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายดังกล่าว เนื่อง จากเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพความคิดเห็น การแสดงออกขั้นพื้นฐานจะทำให้ประชาชนหวาดกลัวในการออกมาใช้สิทธิเสรีภาพและ ยังมีปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งไม่อาจแสดงความเห็นได้ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ขอเรียกร้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติยุติการดำเนินการผ่านร่างพระราช บัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. …. ในช่วงเวลานี้ หากหน่วยงานรัฐต้องการผ่านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อความชัดเจนในการใช้สิทธิเสรีภาพ หน่วยงานดังกล่าวควรมีการรับฟังความเห็นอย่างแพร่หลาย ดำเนินการออกกฎหมายภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญฉบับถาวรและกระทำโดยผ่านสภาผู้แทน ราษฎรเท่านั้น
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
1. กลุ่มอนุรักษ์คนฮักท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย
2. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)
3. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)
4. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
5. เครือข่ายอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรม
6. คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
7. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น จังหวัดกระบี่
8. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
9. ศูนย์ข้อมูลชุมชน
10. ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม
11. เครือข่ายสลัมสี่ภาค
12. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคอีสาน(กป.อพช.)
13. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ อีสาน(ศศส.)
14. กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
15. กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำลำพะเนียง
16. คณะกรรมการชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบแนวสายส่งไฟฟ้า อุดรธานี
17. กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลำน้ำโขง
18. เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีสาน
19. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
20. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
21. มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
22. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
23. สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)
24. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
25. กลุ่มป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู
26. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
27. เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา
28. ขาหุ้นปฏิรูปพลังงานภาคใต้
29. เครือข่ายพลเมืองสงขลา
30. เครือข่ายปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารภาคใต้
31. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคใต้ (กป.อพช.ใต้)
32. เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น
33. ศูนย์พิทักษ์สิทธิการจัดการทรัพยากรชุมชนลุ่มน้ำชีตอนล่าง
34. กลุ่มชาวบ้านอนุรักษ์ลุ่มน้ำชีตอนนล่าง
35. กลุ่มสายธาร
36. กลุ่มบ้านสันติภาพ
37. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก 4 ภาค
38. Rubber Watch (กลุ่มจับตานโยบายยางพารา ภาคใต้)
ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ: สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน 02-6930682