แถลงการณ์ภาคประชาสังคมคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่


แถลงการณ์ร่วม
51 องค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อม

“คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และการเปิดประมูลโครงการ

วันที่ 19 กรกฎาคม 2558

ตามที่เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินได้ทำการอดอาหารประท้วงมาตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมาเพื่อแสดงการคัดค้านและเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการดำเนินโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและท่าเทียบเรือขนส่งถ่านหิน จ.กระบี่ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการศึกษาจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) และ กฟผ.กำลังจะเปิดประมูลการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในวันที่ 5 สิงหาคมที่จะถึงนี้นั้น
พวกเรา 51 องค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อมดังมีรายชื่อท้ายนี้ ขอแถลงสนับสนุนการแสดงออก
ของเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินและมีความเห็นข้อเรียกร้องร่วมกันดังนี้

  1. การแสดงออกของเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน เป็นการแสดงความคิดเห็นตามหลักประชาธิปไตย และมิได้มีการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด
  2. พื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และท่าเทียบเรือเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติหรือ แรมซาร์ไซต์ (Ramsar Sites) เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนก โลมา วาฬ และพะยูน ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองและสัตว์ป่าสงวนของไทย และอยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก พื้นที่ชุ่มน้ำและชายฝั่งทะเลอันดามัน ทั้งยังเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประชาชนท้องถิ่น ทั้งในด้านการประมง และการท่องเที่ยว จึงเป็นการไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะอนุญาตให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่ที่มีความสำคัญและความอ่อนไหวทางธรรมชาติแห่งนี้
  3. การเปิดประมูลการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในวันที่ 5 สิงหาคมนี้ ทั้งที่โครงการยังอยู่ระหว่างการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) และยังไม่ได้รับการอนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรี โดยอ้างว่าเป็นการดำเนินการ “คู่ขนาน” ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และขัดกับหลัก “ธรรมาภิบาล” ไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สิทธิชุมชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน
  4. ขอให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยุติแผนการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และยกเลิก
    การเปิดประมูลการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่โดยทันที

 

ด้วยความรักและห่วงแหนในทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน

  1. มูลนิธิโลกสีเขียว
  2. มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
  3. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)
  4. คณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม
  5. ศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา
  6. ชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา
  7. กลุ่มคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  8. ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดหนองคาย
  9. เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.)
  10. ศูนย์ข้อมูลชุมชน (Community Resource Centre)
  11. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
  12. เครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม ( Civil Society Planning Network)
  13. สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.)
  14. สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน
  15. มูลนิธิธรรมรัฐเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  16. สมาคมองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สอส.)
  17. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน (มพย.)
  18. มูลนิธิอันดามัน
  19. มูลนิธิป่าทะเลเพื่อชีวิต
  20. องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน
  21. สมาคมคนรักษ์กระบี่
  22. ชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง
  23. ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศน์วิทยา
  24. คณะกรรมการประสานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช.อีสาน)
  25. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนเพื่อสันติภาพอีสาน
  26. เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน
  27. ศูนย์พิทักษ์สิทธิการจัดการทรัพยากรชุมชนลุ่มน้ำชีตอนล่าง
  28. มูลนิธิพัฒนาอีสาน
  29. เครือข่ายพลังงานยั่งยืน จ.สุรินทร์
  30. ศูนย์ส่งเสริมศักยภาพประชาชนนครราชสีมา
  31. เครือข่ายทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ภาคเหนือตอนล่าง
  32. สถาบันรักษ์ถิ่น กำแพงเพชร
  33. เครือข่ายทรัพยากรดินน้ำป่า จ.กำแพงเพชร
  34. เครือข่ายคนรักษ์น้ำปิงและป่า จ.กำแพงเพชร
  35. สถาบันสร้างเสริมการจัดการทรัพยากรชุมชน
  36. สมัชชาประชาชนสุโขทัย
  37. สหพันธ์รักษ์เมืองตาก
  38. ศูนย์เสริมสร้างองค์กรชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม จ.พิษณุโลก
  39. เครือข่ายวาระเปลี่ยนตะวันออก กลุ่มเพื่อนตะวันออก
  40. สมาคมฟื้นฟูและพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน
  41. โครงการปฏิบัติการเพื่อสิทธิคนจน
  42. สมัชชาคนจน (สคจ.)
  43. มูลนิธิพื้นที่ชุ่มน้ำไทย
  44. สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย
  45. กลุ่มใบไม้
  46. กลุ่มเยาวชนต้นกล้าน้อย
  47. เครือข่ายอาสาคนรักแม่กลอง
  48. เพจคนอนุรักษ์
  49. สุนี ไชยรส
  50. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA)
  51. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส)หมายเหตุ:  เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ทาง กฟผ. ได้ออกประกาศเลื่อนการประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ จากเดิม 22 กรกฎาคม เป็นวันที่ 5 สิงหาคม 2558 (http://bidding.egat.co.th/app1/file/data?id=5373)

KrabiNoCoal2 KrabiNoCoal3
 

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง