เวทีสาธารณะ “คำถามที่ ปตท. ต้องตอบ… ก่อนที่ความจริงจะหายไปพร้อมกับคราบน้ำมัน”

“กลุ่มจับตาน้ำมัน ปตท. รั่ว” ซึ่งประกอบด้วย มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH), มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (Enlaw), กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Greenpeace Southeast Asia), และสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (GSEI) ได้ร่วมกับ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย และ ศูนย์วิจัยนโยบายพลังงานและทรัพยากร มหาวิทยาลัยรังสิต 
กำหนดจัด เวทีสาธารณะ 
“คำถามที่ปตท.ต้องตอบ… ก่อนที่ความจริงจะหายไปพร้อมกับคราบน้ำมัน” 
วัน/เวลา: วันพุธที่ 21 สิงหาคม 2556 เวลา 13.00 – 16.30 น. 
สถานที่: ห้อง 2201 ชั้น 22 ศูนย์ศึกษาวิภาวดี (มหาวิทยาลัยรังสิต)
** อาคารทีเอสทีทาวเวอร์ (TST Tower) วิภาวดี ซอย 9 ถนนวิภาวดีรังสิต เเขวงจอมพล เขตจตุจักร กทม**
** แผนที่: http://goo.gl/maps/R30AW **
ในเวทีได้เชิญตัวแทนประชาชนชาวเกาะเสม็ดผู้ได้รับผลกระทบ และผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมกันให้ข้อมูลและวิเคราะห์ถกเถียงร่วมกัน เกี่ยวกับจากเหตุการน้ำมันดิบของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (พีทีทีจีซี) จำนวนมหาศาลรั่วไหลสู่อ่าวไทยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2556 รวมถึงเหตุการณ์และผลกระทบด้านต่างๆ ที่ตามมา
นอกจากนี้ ในงานดังกล่าว ทางกลุ่มยังเตรียมเปิดเผยรายชื่อประชาชนกว่า 20,000 คน ทั้งในประเทศไทย (กว่าหนึ่ง 10,000คน) และประเทศอื่นๆทั่วโลก ซึ่งได้ร่วมลงนามผ่าน www.change.org/oilspill เพื่อร่วมสนับสนุนข้อเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการแต่งตั้ง “คณะกรรมการอิสระเพื่อสืบสวนข้อเท็จจริง” ที่มีความเป็นอิสระ และมีตัวแทนจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคกฎหมาย และภาคประชาชน ขึ้นมาสอบสวนสาเหตุรวมถึงประเมินผลกระทบที่แท้จริงของเหตุที่เกิดขึ้น ก่อนจะนำรายชื่อดังกล่าวยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
*** กำหนดการ ***
12.30 – 13.00 ลงทะเบียน
13.00 – 13.10 เปิดงานและชี้แจงวัตถุประสงค์ โดยคณะผู้จัด
13.10 – 13.40
ช่วงที่ 1 ขั้นตอนกระบวนการรับมือกับเหตุน้ำมันรั่วทางทะเล
1. กระบวนการจัดการกับเหตุ ความปลอดภัย และการใช้สารเคมีฯ กรณีน้ำมันรั่วที่ชายฝั่งระยอง – ดร.อาภา หวังเกียรติ, ผู้ช่วยคณะบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
2. การเก็บกู้คราบน้ำมันที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม กรณีตัวอย่างต่างประเทศ – มล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี, ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนโยบายพลังงานและทรัพยากร มหาวิทยาลัยรังสิต
3. โครงสร้างและจุดอ่อนของระบบและกลไกการรับมือกรณีอุบัติภัยน้ำมันรั่วในประเทศไทย – ดร. บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์, ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
13.40 – 13.55 ถาม-ตอบ (15 นาที)
13.55 – 14.40 
ช่วงที่ 2 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนและการฟื้นฟูเยียวยา
1. ผลกระทบต่อทรัพยากรชายฝั่ง การสำรวจเบื้องต้นของโครงการนักสืบชายหาด – คุณนิตยา วงศ์สวัสดิ์, ผู้จัดการ มูลนิธิโลกสีเขียว
2. ผลกระทบต่อชุมชนประมงและธุรกิจท้องถิ่น – ตัวแทนสมาคมประมงพื้นบ้านเรือเล็กจังหวัดระยอง และกลุ่มชุมชนและธุรกิจท้องถิ่นเกาะเสม็ด 
3. การสำรวจผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเล และการติดตามตรวจสอบผลกระทบระยะยาว – ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน, ผู้เชี่ยวชาญนิเวศวิทยาแนวปะการัง, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
4. ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลกับความเสี่ยงจากกิจกรรมอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในทะเล – รศ.ดร. เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์, ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายกสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย (รอยืนยัน)
14.40 – 15.55 ถาม-ตอบ (15 นาที)
15.55 – 15.15 พักเบรก (20 นาที)
15.15 – 16.30 
ช่วงที่ 3 อภิปราย ความรับผิดชอบของผู้ก่อมลพิษ ต่อการชดเชยและเยียวยาผลกระทบ 
1. ความรับผิดชอบของ ปตท.สผ. กรณีศึกษาน้ำมันรั่วมอนทารา – คุณธารา บัวคำศรี, กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. ข้อห่วงกังวลและปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรณีน้ำมัน ปตท. รั่วชายฝั่งระยอง – คุณเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง, มูลนิธิบูรณะนิเวศ 
3. ความพร้อมรับมือกรณีอุบัติภัยน้ำมันรั่วในประเทศไทย – ดร. บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์, สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
4. ความรับผิดชอบของผู้ก่อมลพิษในกฎหมายไทย และรูปแบบการตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงอิสระ – คุณสุรชัย ตรงงาม, มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
ดำเนินรายการเสวนาโดย คุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ดำเนินรายการ “เช้าทันโลก” FM96.5 
ร่วมลงชื่อเรียกร้องการตั้งคณะกรรมการอิสระสืบสวนข้อเท็จจริง กรณีน้ำมัน ปตท.รั่วชายฝั่งระยอง ได้ที่ www.Change.org/OilSpill
 
 
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบเวทีสาธารณะได้ที่นี่
– การสำรวจผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเล และการติดตามตรวจสอบผลกระทบระยะยาว
– ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลกับความเสี่ยงจากกิจกรรมอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในทะเล
– ความรับผิดชอบของ ปตท.สผ. กรณีศึกษาน้ำมันรั่วมอนทารา
– โครงสร้างและจุดอ่อนของระบบและกลไกการรับมือกรณีอุบัติภัยน้ำมันรั่วในประเทศไทย
– ความรับผิดชอบของผู้ก่อมลพิษในกฎหมายไทย และรูปแบบการตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงอิสระ
 

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง
ติดตามเราในช่องทาง Social
ข่าวสารล่าสุด