หลักและวิธีการในการใช้สิทธิของประชาชน
เมื่อได้รับความเสียหายจากกรณีการรั่วไหลของน้ำมันในทะเล
- รวบรวมข้อมูลความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยสามารถแบ่งกลุ่มผลกระทบได้ดังนี้
1. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศทางทะเล สัตว์น้ำ ชายหาด
การเก็บข้อมูลผลกระทบ
– การตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของบริเวณที่น้ำมันรั่วไหล
– จัดทำแผนที่ทรัพยากร บริเวณที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ
– สำรวจความเสียหาย และขอบเขตของความเสียหายของทรัพยากรธรรมชาติว่าได้รับความเสียหาย
มากน้อยเพียงใดโดยพิจารณาจากความเสียหายที่มีต่อทรัพยากรและสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในทรัพยากร-
ธรรมชาติบริเวณนั้น
ขอข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
– ข้อมูลการตรวจสอบชนิด ปริมาณ ของน้ำมันที่รั่วไหล ทิศทางละความเร็วกระแสน้ำ-กระแสลม
เพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม ทิศทางและความเร็วของการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมัน
– ข้อมูลการสำรวจพื้นที่ เพื่อพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมด
โดยระบุระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพยากรธรรมชาติ
– ข้อมูลการประเมินความสามารถในการแก้ไขและฟื้นฟูของทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับความ
เสียหายด้วยเทคนิค และวิธีการที่เหมาะสม
– รายงานการประชุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำ
เนื่องจากน้ำมัน ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ,อนุคณะกรรมการป้องกันและ
ขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน ซึ่งมีอธิบดีกรมเจ้าท่าเป็นประธาน ,คณะกรรมการเยียวยา
ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะกรรม ฯลฯ
2. การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ
ผลกระทบที่เกิดกับผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร
การเก็บข้อมูลผลกระทบ
– ประเมินความเสียหายเนื่องจากการสูญเสียรายได้ เนื่องมาจากเหตุการณ์น้ำมันรั่ว โดยพิจารณา
ถึงรายได้ที่สูญเสียไป ที่ตั้งจำนวนผู้ประกอบการ จำนวนนักท่องเที่ยว สภาพเศรษฐกิจและสังคม
3. ประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงและกิจการเกี่ยวเนื่องกับสัตว์น้ำ
ผลกระทบที่เกิดกับผู้ประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง แพปลา ผู้แปรรูปสัตว์น้ำ ผู้จำหน่ายอาหารทะเล
การเก็บข้อมูลผลกระทบ
– ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้และรายได้จากการจับสัตว์น้ำในช่วงฤดูกาลนี้ในปีก่อนๆ
– รายได้(เฉลี่ยต่อวัน)จากการแปรรูปสัตว์น้ำ และการจำหน่ายอาหารทะเล ในปีก่อนๆ
– จำนวนวันที่มีการปนเปื้อนคราบน้ำมันในทะเล และไม่สามารถออกเรือจับสัตว์น้ำได้
– ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อไม่สามารถจับสัตว์น้ำในบริเวณที่ปนเปื้อนคราบน้ำมันได้ และต้องออก
เรือเพื่อจับสัตว์น้ำในระยะทางที่ไกลกว่าเดิม
4. สุขภาพของประชาชน
กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่เกิดจากไอระเหยและการสัมผัสคราบน้ำมันที่รั่วไหล
1) ประชาชนในพื้นที่
2) เจ้าหน้าที่ผู้เข้าดำเนินการฟื้นฟูชายหาด
3) อาสาสมัครทั่วไป
การเก็บข้อมูลผลกระทบ
– ระยะห่างจากบริเวณที่พักอาศัย กับจุดที่มีคราบน้ำมันรั่วไหล
– เป็นผู้ที่เข้าไปในบริเวณที่มีคราบน้ำมันรั่วไหลหรือร่างกายได้สัมผัสคราบน้ำมันโดยตรง
และระยะเวลาที่อยู่ในบริเวณนั้น หรือได้สัมผัสคราบน้ำมัน
– สังเกตอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ หรืออาการผิดปกติของผิวหนังบริเวณที่สัมผัส
คราบน้ำมัน และหากพบว่ามีอาการผิดปกติของร่างกาย ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการสูดดมหรือ
สัมผัสคราบน้ำมัน ควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย
- สอบถามหน่วยงานราชการในพื้นที่ว่าหน่วยงานใดเป็นผู้มีอำนาจรับผิดชอบ
- สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
- สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค
- ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในจังหวัด
- คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลในทะเล
- คณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันรั่ว
-
จัดเตรียมเอกสาร หลักฐาน เพื่อยืนยันความเสียหายที่ได้รับ
- ภาพถ่ายความเสียหาย เช่น ภาพคราบน้ำมันบนชายหาด โดยระบุวันที่และตำแหน่งที่ถ่ายภาพ อย่างชัดเจน
- ผลการตรวจสุขภาพ กรณีพบความผิดปกติของร่างกายภายหลังการสัมผัส หรือสูดดมคราบน้ำมัน
- ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ในช่วงเดียวกันนี้ของปีก่อนๆ
- รายได้เฉลี่ยในการขายสัตว์น้ำในช่วงเดียวกันนี้ของปีก่อนๆ
- ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อไม่สามารถจับสัตว์น้ำในบริเวณที่มีการปนเปื้อนคราบน้ำมันได้ และต้องออกเรือไปในพื้นที่อื่นซึ่งไกลกว่าเดิม
- สถิติจำนวนผู้เข้าพักในโรงแรมในช่วงเดียวกันนี้ของปีก่อนๆ
- รายได้เฉลี่ยในการขายสินค้าในช่วงเดียวกันนี้ของปีก่อนๆ
- ยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วเพื่อเรียกร้องให้บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ชดใช้ค่าเสียหาย
ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการติดตามเรื่อง ควรดำเนินการ ดังต่อไปนี้
- สำเนาคำร้อง พยานหลักฐานไว้ 1 ชุด ให้เจ้าหน้าที่รับรองว่าได้ยื่นต้นฉบับไว้แล้ว เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการร้องทุกข์และยื่นพยานหลักฐานไว้ต่อหน่วยงานรัฐ
- สอบถามเจ้าหน้าที่ถึงระยะเวลาในการดำเนินการผู้รับผิดชอบ เบอร์โทรศัพท์ที่จะติดต่อสอบถามความคืบหน้าได้
- ควรตรวจตราจดหมายที่ส่งมาที่บ้านหรือที่อยู่ที่ให้ไว้กับเจ้าหน้าที่ ว่าเจ้าหน้าที่แจ้งให้เราซึ่งเป็นผู้ร้องดำเนินการเพิ่มเติมหรือไม่อย่างไร และหากมีข้อสงสัยให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถามโดยเร็ว
- ในระหว่างการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ ควรติดตามขอดูเอกสารพยานหลักฐานในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่หากเห็นว่าสิ่งใดไม่ถูกต้อง ให้ดำเนินการโต้แย้งคัดค้านเป็นหนังสือให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที
- ในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ เพื่อชี้แจงพยานหลักฐานใดๆ หากไม่มีความชำนาญพอในรายละเอียดที่เป็นเรื่องเทคนิคเฉพาะทาง ควรจัดเตรียมบุคคลที่มีความรู้เฉพาะด้านในเรื่องดังกล่าว ไปพร้อมกับผู้ร้องเพื่อช่วยชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ทราบได้
- หากไม่ได้รับความสะดวกควรติดต่อขอเข้าพบเพื่อชี้แจงปัญหาต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงในหน่วยงานนั้น
-
การใช้สิทธิทางศาล
- การใช้สิทธิในการฟ้องเพื่อเรียกค่าเสียหายจากบริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)เช่น ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขาดรายได้ของผู้ประกอบการโรงแรม ชาวประมง และกิจการอื่นๆบริเวณชายหาด โดยการฟ้องเป็นคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย
- การใช้สิทธิในการฟ้องเพื่อให้มีการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยฟ้องเป็นคดีปกครองให้หน่วยงานรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบ โดยสามารถไล่เบี้ยค่าเสียหายกับบริษัทที่เป็นผู้ก่อมลพิษได้
ทั้งนี้การฟ้องร้องดำเนินคดีมีรายละเอียดในการดำเนินการ ประชาชนควรปรึกษานักกฎหมายหรือทนายความก่อนใช้สิทธิ
อ้างอิง : โครงการการจัดทำคู่มือการประเมินความเสียหายจากระบบนิเวศและทะเลจากน้ำมันรั่วไหล
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม