หมายเหตุ: ถอดเทปจากบันทึกการเสวนาสาธารณะ “คำสั่ง คสช. มาตรา 44 … อำนาจที่ศาลไม่ (อาจ) ตรวจสอบ: กรณีศึกษาคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 4/2559 เรื่องยกเว้นการบังคับใช้ผังเมืองฯ” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 13.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมจิ๊ด เศรษฐบุตร (LT.1) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ตอนที่ 3 : สฤณี อาชวานันทกุล กรรมการผู้จัดการด้านการพัฒนาความรู้ บริษัท ป่าสาละ จำกัด
เรื่องกระแสโลก และนัยยะของมาตรา 44 กับการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการนิยามไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 ในรายงานของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาของสหประชาชาติ ชื่อ Our Common Future (ชื่อเล่น The Brundtland Report) บัญญัติไว้อย่างชัดเจน ว่า“การพัฒนาที่ยั่งยืนคือการพัฒนาที่ตอบสนองคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต” การพัฒนาต้องคำนึงถึงคนรุ่นหลังด้วย ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มี การประชุมริโอมีการพัฒนาแผนการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ มีช่วงหนึ่ง UN พยายามโปรโมท เศรษฐกิจเขียว เมื่อเกิดวิกฤตการเงินเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ทำให้โลกเริ่มเห็น ว่าการรับเอาแนวคิดทุนนิยมสุดขั้วทำให้เกิดปัญหา
ล่าสุด องค์กรสหประชาชาติได้ประกาศ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2558 มีการจัดประชุมใหญ่ มีผู้แทนไทยไปด้วยและมีการลงนาม ว่าจะใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ถ้าดูรายละเอียดจะมีการเขียนให้ต้องคำนึงถึงการพัฒนาและการมีส่วนร่วม การผลิตที่ยั่งยื่น วิธีคิดแนวคิดใหม่ที่ยั่งยืน พูดได้แล้วว่าเป็นกระแส คล้ายๆ จริยธรรมสากล เราจะใช้ 15 ปี ในการกำกับการดูแล โดยรัฐบาลไทย มีการตั้งในปี 2558 ซึ่งมีการไปประชุมและรับหลักการมา ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 เพิ่งประกาศใช้ ซึ่งในตัวบทเกริ่นนำและหลักการเหตุผลก็มีการพูดถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน
การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นกระแสโต้กลับกับการพัฒนาที่ผ่านมาว่าไม่ยั่งยืน เพราะมองการเติบโตทางเศรษฐกิจด้านเดียว พอเกิดผลกระทบเยอะๆ เมื่อทบทวนวรรณกรรม ถ้าจะให้เข้าข่ายต้องเข้าหลักความรอบคอบ โครงการที่มีแนวโน้มความเสี่ยง ผู้ดำเนินโครงการมีภาระในการพิสูจน์ว่าทางเลือกในการจัดการมีอะไรบ้าง แม้เป็นข้อพิสูจน์ที่ยังไม่สิ้นสงสัย ต้องใช้หลักปลอดภัยไว้ก่อน คำนึงให้รอบคอบและตัดสินใจดีๆ มีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่ ต้องดูผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ต้องคำนึงถึงกลไกร้องเรียน เยียวยาด้วย ถ้าเกิดผลกระทบในอนาคต จะมีวิธีการจัดการอย่างไร ช่องทางอย่างไรที่ผู้ได้รับผลกระทบจะได้รับการเยียวยา
หลักคิดความรอบคอบ คนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีโอกาสได้รับผลกระทบ ต้องเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น กระบวนการปรึกษาหารือ ไม่ใช่เพียงแค่การรับฟังความคิดเห็น เช่น ให้ชาวบ้านมาพูดห้านาที ต้องมีการปรึกษาหารือที่มีความหมาย ล่าสุดมีการผลักดันให้ธุรกิจต้องดำเนินการตามแนวทางของยูเอ็น ประเด็นการมีส่วนร่วม เขาบอกว่า ท่านต้องมีกระบวนการปรึกษาหารือที่มีความหมาย และมีแนวทางปฏิบัติโดย ให้ข้อมูล สื่อสารให้เข้าใจ มีขั้นตอนค่อนข้างชัด เป็นบทเรียนจากการพัฒนาที่ผ่านมา 17 ข้อ บทเกริ่นนำ SDG 17 ข้อ หลักการและเหตุผล กำหนดเจตนารมณ์ว่า “เราตั้งมั่นที่จะขจัดความยากจนและความหิวโหยทุกรูปแบบ และสร้างหลักประกันว่ามนุษย์ทุกคนจะสามารถเติมเต็มศักยภาพของตัวเอง ด้วยศักดิ์ศรี ความเท่าเทียม และในสภาพแวดล้อมที่ดี….ให้คนทุกคนได้มีส่วนร่วม” จะเห็นว่านี้คือเจตนารมณ์ใหญ่ของการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ละประเทศก็จะต้องกลับไปทำแผนของแต่ละประเทศ ความสำคัญคือประชาชนต้องมีส่วนร่วม เคารพศักศรีดิ์ความเป็นมนุษย์ ถ้าเทียบกับคำสั่ง คสช.ที่ 4/2559 ก็ไม่สอดคล้อง เพราะคำสั่งนี้ ยกเว้นผังเมืองสำหรับกิจการบางอย่าง
กฎหมายผังเมืองสำคัญอย่างไร การกำหนดกติกาใหญ่ ผังเมืองเป็นวิธีการประสานประโยชน์ทุกฝ่ายเข้าด้วยกัน ว่าควรใช้ประโยชน์อย่างไร กฎหมายผังเมืองเป็นกฎหมายฉบับแรกๆที่ให้ต้องรับฟังความคิดเห็น อาจไม่มีรายละเอียด แต่คำสั่งที่ 4/2559 นี้ให้ยกเว้นผังเมืองสำหรับกิจการบางประเภท เหตุผลก็ฟังไม่ขึ้น มองว่าเป็นปัญหาอุปสรรค และขัดข้องการพัฒนา เป็นการทวนเข็มและน่าเสียดาย ไม่ตรงกับที่รัฐบาลไปประชุมกับประชาคมโลกและรับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนมาแล้ว
อำนาจตามมาตรา 44 เป็นที่สุด เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีทางที่ใครไปร้องเรียนหรือตรวจสอบ การพัฒนาใดๆ ต้องคิดรอบคอบถึงทางเลือก ปลายทางก็ต้องมีกลไกตรวจสอบ เมื่อมาตรา 44 ตัดช่องทางในการรับผิด ไม่ใช่เฉพาะแต่เรื่องนี้ ก็ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการพัฒนาที่ยั่งยืน
ติดตามอ่านตอนที่ 1 สุรชัย ตรงงาม: ถ้าศาลปกครองสูงสุดตรวจสอบ (คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 4/2559) ไม่ได้…แล้วศาลไหนล่ะ
ติดตามอ่านตอนที่ 2 จันทจิรา เอี่ยมมยุรา : หลักนิติรัฐไม่อนุญาตให้กฎหมายและคำสั่งทางปกครองขัดต่อรัฐธรรมนูญ (คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 4/2559)…
รับชมวิดีโอบันทึกการเสวนาและดาวน์โหลดเอกสารข้อมูลประกอบการเสวนาได้ที่:
https://enlawfoundation.org/newweb/?p=3058