ศาลโลกสั่งญี่ปุ่นหยุดล่าปลาวาฬในน่านน้ำแอนตาร์กติกา

ศาลพิพากษาว่าโครงการล่าปลาวาฬของญี่ปุ่นไม่ได้มีวัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์

และไม่สามารถที่จะพิสูจน์ความชอบธรรมจากจำนวนปลาวาฬมิงกี้ที่ถูกฆ่าได้ *

World Court Japan Australia

           ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้มีคำสั่งให้ญี่ปุ่นหยุดการล่าปลาวาฬประจำปีในน่านน้ำแถบขั่วโลกใต้ ชั่วคราว หลังจากที่ได้ข้อยุติว่าการล่าไม่ได้กระทำเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างที่ญี่ปุ่นได้กล่าวอ้าง          คำวินิจฉัยของศาลสหประชาชาติ ที่มีเสียงส่วนใหญ่จากองค์คณะผู้พิพากษาในอัตรา 12-4 ได้แสดงให้เห็นถึงข้อสงสัยและข้อห่วงกันวลในเรื่องอนาคตข้างหน้าของคุณค่าที่โครงการล่าวาฬที่มีความคัดแย้งนี้ ของญี่ปุ่นจะได้รับ
         เหตุการณ์นี้ถือเป็นการได้มาซึ่งชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของรัฐบาลออสเตรเลีย ที่นโยบาย 4 ปีห้ามให้มีการล่านั้นขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถโน้มน้าวต่อศาลว่าญี่ปุ่นได้ใช้การวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาบังหน้าเพื่อการล่าวาฬเชิงพาณิชย์
          ในการยื่นคำร้องต่อศาล ในปี ค.ศ. 2010 ออสเตรเลียได้กล่าวหาญี่ปุ่นว่าไม่เคารพที่จะทำตาม มาตรฐานขั้นต่ำในการจับวาฬ ศูนย์ตัว อย่างสุจริตได้
          ภายใต้คำสั่งห้ามการล่าวาฬของคณะกรรมการการล่าวาฬระหว่างประเทศ (International Whaling Commission) ในปี ค.ศ. 1986 ญี่ปุ่นได้รับอนุญาตให้ฆ่าปลาวาฬจำนวนหนึ่งทุกๆปี เพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ดั่งที่ญี่ปุ่นกล่าวอ้าง
           ในคำพิพากษาอันยาวเยียด ผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบ ณ กรุงเฮค ปีเตอร์ ทอมกา ชี้ว่า ญี่ปุ่นไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่าการตามล่าวาฬ ร้อยกว่าตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธุ์มิงกี้ ในน่านน้ำแอตตากติกาทุกฤดูหนาว ที่อยู่ภายใต้โครงการ “Jarpa II” นั้นได้ทำไปเพื่อวัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์
           ทอมกากล่าวว่า “หลักฐานที่ได้มานั้นไม่สามารถที่จะชี้ให้เห็นว่ารูปแบบและการปฏิบัติงานของโปรแกรมนั้นสมเหตุสมผลกับวัตถุประสงค์ที่ได้กล่าวอ้าง”
          “ศาลกล่าวโดยสรุปว่า ใบอนุญาตที่ออกเป็นการเฉพาะให้ญี่ปุ่น ให้ฆ่า เอา และวิธีปฏิบัติต่อปลาวาฬ เกี่ยวเนื่องกับโครงการ Jarpa II นั้นไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์” ทอมกาเสริมก่อนที่จะมีคำสั่งให้ญี่ปุ่นหยุดโครงการล่าวาฬ และให้คำสั่งมีผล “ทันที”
          โนริยูกิ ชิคาตะ โฆษกคณะผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นต่อศาลโลก ได้กล่าวว่า ญี่ปุ่นรู้สึก “ผิดหวัง” กับคำพิพากษาของศาล แต่ก็ยินยอมที่จะปฏิบัติตาม เพราะถือว่าประเทศตนเป็น “ประเทศที่ให้ความสำคัญต่อข้อบังคับทางกฎหมายระหว่างประเทศ และ หลักนิติธรรมอันเป็นรากฐานของความเป็นชุมชนระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก”
         “ในเรื่องของการแผนปฏิบัติในอนาคตนั้น ประชาชนในโตเกียวจะเป็นผู้ตรวจสอบเอง แต่ทางเราก็ได้ประกาศจุดยืนอย่างชัดเจนแล้วว่าเราจะปฏิบัติตามคำพิพากษา” ชิคาตะให้สัมภาษณ์ The Guardian
          เขายังบอกอีกว่า คำพิพากษานี้จะไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับออสเตรเรีย
           “ญี่ปุ่นและออสเตรเลียเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ และ ในการกำหนดแนวทางทางยุทศาสตร์ ซึ่งเราต่างมีค่านิยมและความต้องการ/ผลประโยชน์ร่วมกันอยู่” ชิคาตะกล่าว “พวกเรามีความพึงพอใจ ความสัมพันธ์ทวิภาคีที่มีความยาวนาน ในหลายๆด้าน ดังนั้น การที่เราจะต่างมองข้ามความขัดแย้งในเรื่องการล่าวาฬเพื่อไม่ให้มากระทบ
ความสัมพันธ์อันดีระหว่าง ญี่ปุ่น และ ออสเตรเลียในภาพรวมนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ณ ตอนนี้”
           ชิคาตะกล่าวต่อไปว่า เขาไม่ได้มองคำพิพากษาในวันนี้ว่าเป็นการจู่โจมวัฒนธรรมของญี่ปุ่น “พวกเราต่างอ้างอิงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม และ ประเพณีการกินอาหาร แต่ในกรณีนี้มันเป็นเรื่องความชอบด้วยกฎหมายของโครงการภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการล่าวาฬ” เขาบอกว่า “คำพิพากษาของศาลได้ชี้ให้เห็นถึงการสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์สำหรับปริมาณตัวอย่างที่ยังคงขาดอยู่… ไม่ใช่เรื่องของความแตกต่างทางวัฒนธรรม”
           บรรดาผู้รณรงค์ต่างแสดงความยินดีกับคำพิพากษา “คำตัดสินนี้เป็นคำตัดสินของประวัติศาสตร์ ซึ่งในที่สุดก็ได้ทำให้เห็นถึงความจริงเสียที ข้อกล่าวอ้างอันร้ายกาจของญี่ปุ่น ว่าเป็นการล่าวาฬเป็นการกระทำเพื่อการวิจัยทาง ‘วิทยาศาสตร์’ และ การเปิดโป่งข้อความที่หลอกลวงซึ่งๆหน้านี้ต่อทุกคนบนโลก” แคลร์ แพรี่ ซึ่งเป็นหัวหน้าการรณรงค์อนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล องค์กรสืบสวนทางสิ่งแวดล้อม(Environmental Investigation Agency) ที่มีฐานอยู่ที่ประเทศอังกฤษ กล่าว “ด้วยคำพิพากษานี้ ญี่ปุ่นจะต้องหยุดการล่าปลาวาฬในน่านน้ำแอนตากติกาอย่างแน่นอน”
          ศาลพิพากษาว่า ญี่ปุ่นไม่ได้ปฏิบัติตามพันธกรณี ซึ่งครอบคลุมไปถึงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 8 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกฎเกณฑ์การล่าวาฬ ค.ศ. 1946
           อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นยังคงฆ่าปลาวาฬมิงกี้ 850 ตัว เป็นประจำทุกปี และ ปลาวาฬฟินอีกถึง 50 ตัวต่อปี ซึ่งจำเป็นต่อการตรวจสอบอายุ สุขภาพ นิสัยการกิน ความเสี่ยงต่อการได้รับทอกซิน และ ลักษณะนิสัยอื่นๆของประชากรวาฬ ประกอบกับวิสัยทัศที่จะกลับไปทำการล่าปลาวาฬในเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืนอีกครั้งหนึ่ง
          เจ้าหน้าที่ในโตเกียวบอกว่าข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถที่จะได้มา ผ่านวิธีการที่ไม่อันตรายได้
          อย่างไรก็ตาม ทอมกาบอกว่า ญี่ปุ่นยังไม่สามารถเสนอเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ที่เพียงพอกับการฆ่าสังหารวาฬมิงกี้จำนวนมหาศาลได้ และ ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถที่จะฆ่าวาฬฟินและวาฬหลังค่อมมากเพียงพอที่จะมีคุณค่าทางวิทยาศาสตร์ ทอมกาเสริมต่อไปว่า นอกจากนั้น ญี่ปุ่นยังล้มเหลวที่จะค้นหาวิถีทางหรือความเป็นไปได้ ในการได้มาของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บางประการ โดยไม่ให้เกิดผลลัพธ์เป็นการฆ่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
          ในการต่อสู้ ญี่ปุ่นยื่นรายงานทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกรับรองแล้วเพียงสองฉบับ ซึ่งเป็นรายงานที่เกี่ยวกับโครงการตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ถึง ปัจจุบัน และในระหว่างเวลาดังกล่าว ญี่ปุ่นได้ฉมวกวาฬมิงกี้ถึง 3,600 ตัว วาฬฟินจำนวนหนึ่ง แต่ในจำนวนนั้นไม่มีวาฬหลังค่อม
          ทั้งนี้ทั้งนั้น คำตัดสินในวันอังคารนี้ ได้เปิดช่องให้ญี่ปุ่นปรับปรุงโครงการล่าวาฬของตน ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการล่าวาฬ ในเรื่องของการล่าวาฬเพื่อวัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์
          ซึ่งมันไม่ได้หมายความว่า การล่าปลาวาฬนั้นจะสิ้นสุดหรือหมดไป ญี่ปุ่นยังคงล่าปลาวาฬแม้จะในปริมาณที่น้อยกว่า ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ ในขณะที่นอร์เวย์ และ ไอซ์แลนด์ ยังคงดำเนินการฆ่าปลาวาฬเพื่อการพาณิชย์ เพื่อท้าทายคำสั่งห้ามของคณะกรรมการการล่าวาฬระหว่างประเทศ (IWC)
          รัฐบาลออสเตรเลียได้ให้ข้อมูลว่า ญี่ปุ่นได้ฆ่าปลาวาฬเกินกว่า 10,000 ตัว ตั้งแต่คำสั่งของIWCมีผลบังคับใช้
          ญี่ปุ่นเคยตั้งคำถามกับอำนาจของศาลว่ามีสิทธิตัดสินเคสนี้หรือไม่ แต่ก็ได้บอกไว้ก่อนที่จะมีคำพิพากษาแล้วว่า ตนจะยอมรับคำตัดสิน คำพิพากษาของศาลนั้นย่อมมีผลผูกพัน และไม่สามารถที่จะอุทธรณ์ได้
          คำพิพากษาในวันจันทร์นั้นไม่น่าจะมีผลกับสาธารณชนชาวญี่ปุ่นมากนัก เนื่องจากความอยากที่จะกินเนื้อปลาวาฬได้ลดลงมากนับตั้งแต่สงครามจบลง
          ตามสถิติของรัฐบาลญี่ปุ่นในปลายปี 2012 ในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีเนื้อปลาวาฬที่ถูกกักเก็บไว้ และ ยังคงไม่ได้ถูกวางขาย ถึง 4,600 ตัน เนื้อวาฬเหล่านี้ถูกแช่ไว้ในห้องแช่แข็งท่าเรื่อง
           บรรดาผู้รณรงค์ต่อต้านการล่าวาฬกล่าวด้วยความหวังว่า คำพิพากษาจะสามารถทำให้โครงการล่าวาฬของญี่ปุ่นในขั้วโลกใต้สิ้นสุดลงอย่างถาวร
           “ความเชื่อที่ว่า การล่าที่เกิดขึ้นนี้ เป็นการกระทำในเชิงวิทยาศาสตร์นั้นจะถูกลบออกเสียที” วิลลี่ แมคเคนซี่ ผู้รณรงค์ด้านมหาสมุทรของ กรีนพีซอังกฤษ กล่าว “พวกเราพยายามเร่งให้ญี่ปุ่นปฏิบัติตามคำตัดสิน และ ให้ญี่ปุ่นเลิกพยายามที่จะดำเนินการล่าวาฬอีกต่อไป ไม่ว่าจะด้วยการสร้างช่องว่าง ช่องทางใหม่ๆขึ้นมาก็ตาม”
 
         *แปลจาก :  “Japan told to halt Antarctic whaling by international court.” The Guardian. Justin McCurry, n.d. Web. 31 Mar 2014.  http://www.theguardian.com/environment/2014/mar/31/japanese-whaling-halt-antarctic-international-court  โดย ธันย์ชนก เชาวนทรงธรรม อาสาสมัครมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม 

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง